วันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

Akiko Brand Equity






Aki – ko
แบรนด์ไทย หัวใจอินเตอร์
โลโก้เด็กหญิงหน้าเฮี้ยวนี้ ดูคุ้นตาหรือไม่ หนูน้อยน่ารักคนนี้มีชื่อว่า “อากิโกะ” (aki-ko) หลายคนคงหลงคิดไปว่าเธอเป็นแบรนด์นอกนำเข้า แต่แท้จริงเด็กคนนี้ถือเป็นสัญชาติไทยแท้ๆ

อากิโกะถือกำเนิดในราวปี 2542 หลังช่วงฟองสบู่แตกไม่นานคุณบุญชัย พัวพัฒนขจร ผู้ให้กำเนิดอากิโกะ ใช้เวลาเพียงม่กี่ปีก็ปั้นให้อากิโกะกลายเป็นแบรนด์ไทยอันดับต้นๆ ที่คนไทยรู้จักดี

กว่า 20 ปีที่ครอบครัว คุณบุญชัย ประกอบธุรกิจส่งออกขนมขบเคี้ยวแบบ OEM (Original Equipment Manufacturer) ติดยี่ห้อให้ลูกค้าต่างประเทศสารพัดแบรนด์มานาน ทำให้เห็นวิธีการทำการตลาดในเมืองนอกทั้งใน อเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่น จึงตระหนักว่า
“แบรนด์คือคำตอบในการสร้างความมั่นคงยั่งยืนให้ธุรกิจ”

ประกอบกับเห็นโอกาสในวิกฤติ โดยพบว่าช่วงธุรกิจซบเซาคนไม่กล้าลงทุน ทำให้ค่าเช่าร้านถูก ทำเลดีๆ ก็หาได้ง่าย การสร้างร้านและสร้างแบรนด์ใหม่น่าจะง่ายกว่าและใช้เงินน้อยกว่าช่วงเศรษฐกิจดี

จึงตัดสินในสร้างแบรนด์ในธุรกิจขนม ด้วยวิธีกางแปลงเพื่อนเป็นทุนโดยมีโต้โผเป็นพี่ชายร่วมทุนกับเพื่อนรวม 18 ราย มีเงินทุนเริ่มต้นห้าล้านบาท ในนามบริษัท ไซแมค รีเทล ใช้ชื่อแบรนด์”อากิโกะ” โดยการเปิดหน้าร้านเองเพื่อนสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายโดยตรงแบบไม่ต้องผ่านคนกลาง

แบรนด์นี้มีดีตรงไหน ทำไมถึงมาแรงเรามาทำความรู้จักสาวน้อยอากิโกะ กันหน่อยดีไหม....

เล่าเรื่อง...เรื่องเล่าของอากิโกะ
ในภาวะเศรษฐกิจตกสะเก็ดทุกคนต้องรักเข็มขัด แล้วใครล่ะจะเป็นผู้ซื้อ ?

เริ่มต้นจากการทำวิจัยเพื่อนหาลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย พบว่าในภาวะเช่นนี้กลุ่มวันรุ้นยังเดินห้างได้ทุกวัน และไม่สู้จะเดือนร้อนเท่าผู้ใหญ่ โดยเฉพาะลูกค้ากลุ่มนี้ยังจับจ่ายอยุ่ตามปกติ

…ยิ่งถ้าเป็นขนมอร่อยคุณภาพดี และมีบรรจุภัณฑ์สวยยิ่งขายดีเป็นพิเศษ

“ ผลจากการวิจัยลึกไปกว่านั้นระบุว่าร้อยละ 70 ของผู้ซื้อเป็นผู้หญิง ส่วนเด็กวันรุ่นชายน่ะหรือ ชอบกิน แต่ไม่ชอบซื้อ !!! ”

เมื่อเห็นกลุ่มลูกค้าเบื้องต้นชัดเจน ก็ต้องศึกษาเพิ่มถึงพฤติกรรมผู้บิโภคให้ชัดพบว่าที่พอมีกำลังซื้อมักจะชอบเดินห้าง ฟังเพลง อ่านการ์ตูนญี่ปุ่น ชอบความแปลกใหม่ ท้าทาย ไม่ชอบความจำเจ

ข้อมูลเหล่านี้เป้นที่มาของการตั้งชื่อและสร้างตราสัญลักษณ์ให้เป็นสไตล์ Modern Japanese พร้อมกับเรื่องเล่าแสนสนุกของหนูน้อย “อากิโกะ”

“แนวคิดหลักของ อากิโกะ คือการให้ความสุข สนุกสนาม กับลูกค้าทุกคน”

จากผลท้อสวรรค์ที่ถูกเทพอิจฉา แกล้งเติมใบหน้าให้บึ้งตึง แล้วบังเอิญตกจากสวรรค์กำเนิดเป้นเด็กสาวน้อนแสนเฮี้ยว อาม่าจึงแก้เคล็ดโดยการตั้งชื่อให้ว่า “อากิโกะ” ซึ่ง
หมายถึง ความเบิกบาน สนุกสนาน....


สาวน้อยอากิโกะ มีแต่ความสนุกสนานซุกซนและมีใจเอื้อเฟื้อชอบช่วยเหลือผู้อื่นจนตัวเองต้องเดือนร้อนเป้นประจำ

แล้วยังมี gil หมาหน้าทะเล้น เพศผู้พันธุ์พิทบูลเทอเรีย เพื่อนซื้อคู่กัดของอากิโกะ นิสัยชี้เกียจ ตะกละ ฉลาดแกมโกง เจ้าเล่ห์ แสนรู้ แต่บางครั้งก็โง่อย่างไม่น่าเชื่อ

ah-ma อาม่าใจดี รักและเลี้ยวดูอากิโกะอย่างดี ซ้ำยังต้องคอยช่วยเหลือยามเดือนร้อน ที่สำคัญอาม่าทำขนมอร่อยที่สุดและเป็นต้นตำรับขนมขบเคี้ยวแสนอร่อยของอากิโกะ

อีกคนคือ เพื่อนซี้ตั้งแต่สมัยยังสาวของอาม่า มีฝีมือกังฟูเก่งพอรับมือกับความแสนซนของอากิโกะและเจ้ากิลเจ้าเล่ห์ แต่ถึงจะเป็นไม้เบื่อไม้เมากัน z-ma ก็รักอากิโกะและกิลไม่น้อยไปกว่าอาม่า

“ทั้งหมดเป็นเรื่องราวแสนสนุกที่สร้างสรรค์เพื่อนเชื่อโยงให้เป้นส่วนหนึ่งของผลิตภัณฑ์ทำให้ง่ายต่อการจดจำและสร้างบุคลิคให้แบรนด์ดูโดดเด่น”

หน้าบึ้งชวนจดจำ

ดังที่เคยเปรียบไว้แล้วว่าจุดจดจำ (Identifier) เทียบได้กับรูปร่างหน้าตาของคน สำหรับอากิโกะยิ่งชัดเจน เพราะว่าผู้ออกแบบใช้รูปการ์ตูนเด็กหญิงนำเสนอเป้นโลโก้เพื่อนสร้างการจดจำ

.....แต่ทำไมเด็กผู้หญิงถึงไม่ยิ้ม?

คำตอบจากคุณบุญชัย ก็คือ “นั้นแหละคือสิ่งที่อยากให้คุณถาม” นัยว่าจะได้มีเรื่องให้ผมตอบ เพราะโลโก้ไหนๆ ก็มักจะต้องยิ้ม คนจะคุ้นเคยจนไม่โดดเด่น แต่พอหน้าบึ้ง คนก็จะสนใจ สงสัย ใคร่รู้ และที่สำคัญ จำนำไม่สู่การจดจำ ในครั้งต่อๆ ไป เมื่อเห็นหน้าบึ้งแบบนี้ไม่ต้องบอกชื่อ คนก็จะจดจำได้ว่าคือ “อากิโกะ”

คำตอบแบบเชื่อโยงกับเรื่องราวอีกอย่างหนึ่งก็คือ อยากสื่อว่าทุกคนที่เข้ามาในร้านไม่ว่าจะสุข ทุกข์ เศร้า เซ็ง แต่จะต้องอมยิ้มออกจากร้านทุกคน เพราะ The Fun Starts Here

“ความแตกต่างที่โดดเด่นมักจะทำให้คนจดจำและอยากติดตาม ซึ่งเป้นช่องทางสร้างแบรนด์ให้ประสบความสำเร็จโดยไม่ต้องทุ่มงบประมาณโฆษณา”

บุคลิกของอากิโกะ
อากิโกะเป็นด็กหญิงตัวเล็ก น่ารัก ช่างคิด ชอบประดิษฐ์ แต่มักมีความคิดแผลงๆชอบทำขนม ชอบช่วยเหลือผู้อื่นจนตัวเองต้องเดือดร้อนเป็นประจำ อาศัยอยู่กับอาม่าและหมาที่เป็นเพื่อนสนิทชื่อ กิล และยังมีเพื่อนซี้ของอาม่าชื่อ ซีม่า เป็นคนเก่งกังฟูและชอบแกล้งอากิโกะเป็นประจำ
เรื่องราวทั้งหมดของตัวละคร เมื่อผูกรวมกันเข้าก็จะเกิดเป็นบุคลิกรวมของ แบรนด์อากิโกะ นั่นคือ ซุกซนแก่นแก้ว แต่ไม่เป็นพิษเป็นภัย น่ารัก สนุกสนาน ทำให้ผู้คนรอบข้างอยากรู้จัก และเมื่อได้สัมผัสแล้วก็จะได้รับความสุข ความสนุกสนานกันทั่วทุกคน
“แบรนด์อากิโกะ คือ ร้านขายขนมอร่อย แก่นแก้ว น่ารัก และมีความสนุกสนานซ่อนอยู่อย่างเต็มเปี่ยม ตามสโลแกนที่ว่า
The Fun Start Here “
ขนมคือทัพหน้า
วันนี้เมื่อเราเริ่มเห็นอากิโกะ แน่นอนเราย่อมนึกถึงขนมที่หลากหลายขนมหนึ่งอหม่ำ อ้ำเดียวหมดซอง หรือในรูปหยิบเล็กผสมน้อย (Pix&Mix) เพื่อความสนุกสนานกับสโลแกน The Fun Start Here ในอนาคตอากิโกะอาจขยายไปสู่สินค้าอื่นที่ไม่ใช่ขนม เช่น เสื้อผ้า กระเป๋า น้ำดื่ม ตุ๊กตา รวมถึงการ์ตูนแอนิเมชั่น หรือผลิตภัณฑ์อะไรก็ได้ที่สามารถเชื่อมโยงกับบุคลิกของอากิโกะได้
กล่าวโดยสรุปก็คือ ไม่ว่าผลิตภัณฑ์อากิโกะจะแตกไลน์ไปมากเพียงใด แต่ขนมก็ยังคงเป็นตัวแทน (Representative) ที่คนจะนึกถึงก่อนเสมอเมื่อเราพูดถึงอากิโกะ
“แบรนด์อากิโกะมิได้สื่อเฉพาะความเป็นขนมแต่สื่อสารความเป็นตัวตนมีอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด เหมือนเป็นคนคนหนึ่ง”


วิเคราะห์หาปัจจัยที่ทำให้แบรนด์มีคุณค่า โดยอ้างอิงจาก David Aaker

Brand Awareness
คือการทำให้ผู้บริโภคจดจำในความแตกต่างที่มี ซึ่งความแตกต่างของAki-koนั้นก็จะมาเริ่มกันที่โลโก้ ที่เป็นรูปเด็กผมสั้นหน้าบึ้งเมื่อใครเห็นก็สามารถจดจำได้ง่าย สโลแกนคือ The Fun Start Here หรือมีความหมายเป็นไทยคือการให้ความสุข สนุกสนาม กับลูกค้าทุกคน ด้วยความที่Aki-ko พยายามสร้างแบรนด์เล่าเรื่องราวต่างๆให้มีความสนุกสนานและด้วยรูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่เป็นสไตล์ modern Japanese เพราะเนื่องจากกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มวัยรุ่น นักเรียน นักศึกษาโดยให้น้ำหนักไปที่เพศหญิงเพราะคนกลุ่มนี้มักชื่นชอบในการอ่านการ์ตูนญี่ปุ่น หรือชอบสิ่งของที่มีความคิขุน่ารัก


Brand Loyalty
คือการสร้างความภักดีต่อลูกค้า การที่ลูกค้ามีความภักดีหรือไม่เปลี่ยนใจไปจากแบรนด์ของเราซึ่งก็จะมาจากการที่เรามีสาขาเป็นจำนวนมากคือมี30สาขาทั่วกรุงเทพและทั่วประเทศทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าเราอยู่ใกล้ๆและเรามีสินค้าให้เลือกมากกว่า 400ชนิดในร้าน 1ร้าน สินค้าหมุนเวียนมากกว่า1000ชนิดต่อ1ปีจากทั่วโลก และสินค้าของร้านจะขายโดยการชั่งน้ำหนัก ซึ่งสอดคล้องกับ The fun Start Here ลูกค้ารู้สึกถึง ความเป็นแบรนด์ของตัวอะกิโกะ
รูปภาพร้าน




§ Brand Perceived Quality
คือAki-koนั้นมีลูกเล่นในการเลือกซื้อ คือ Pix & Mix คือการหยิบเลือกสินค้าในร้านผสมกันได้ตามใจชอบไม่จำกัดและร้านมีรูปแบบที่ไม่เหมือนใคร ที่เป็นแบรนด์ไทย แต่มีรูปแบบอินเตอร์ซึ่งบางคนอาจจะเข้าใจว่าขนมเป็นแบรนด์จากต่างประเทศ เพราะทำการออกแบบทุกอย่างตามสไตล์ Modern Japanese และนอกจากนั้นเรามีขนมมากกว่า 400 รายการ ซึ่งแบ่งได้เป็น 9 หมวดซึ่งสินค้าทุกชนิดนั้นแบรนด์เราได้คัดสรรจากในและนอกประเทศเพื่อการันตีถึงคุณภาพสินค้าของแบรนด์ และ Packaging ที่ผ่านการออกแบบมา นอกจากขนมขบเคี้ยว ที่ aki-ko คัดสรรมาให้ ยังมีสินค้าพรีเมี่ยม ดีไซน์สวย น่ารักๆ อีกหลายรายการ สำหรับแฟนตัวจริงของ aki-ko และผู้ชอบการสะสมโดยเฉพาะ
รูปภาพแพ็คเกจ


Brand Association คือ แบรนด์ต้องมีการเชื่อมโยงแบรนด์เข้ากับความคิดของผู้บริโภค ซึ่งในส่วนนี้แบรนด์Aki-ko ใช้
· โลโก้ ที่เป็นรูปเด็กผู้หญิงหน้าบึ้ง
· สีแดง ที่เป็นสีหลักของแบรนด์
· ราคาที่สูงกว่าตลาดทั่วไป
· สร้างบุคลิกของแบรนด์ให้สนุกสนานสอดคล้องกับกลุ่มวัยรุ่น

การคุ้มครองคุณค่าของแบรนด์ผ่านกฏหมาย
ปัจจุบันภายในประเทศไทยรณรงค์ให้ความสำคัญกับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญามากขึ้น ในส่วนของแบรนด์อะกิโกะ นั้นได้จดทะเบียนคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในส่วนของโลโก้ ชื่อแบรนด์ Domain Name Website ซึ่งก่อให้เกิดการรักษาคุณค่าของแบรนด์ไว้ได้ เพราะเอกลักษณ์เหล่านี้จะไม่มีใครสามารถลอกเลียนแบบได้ เกิดเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างเพียงแบรนด์ ให้ผู้บริโภคสามารถแบ่งแยกแบรนด์ออกจากแบรนด์อื่นๆ เพราะหากมีแบรนด์ใดลอกเลียนแบบขึ้น ก็จทำให้คุณค่าของแบรนด์เราต่อผู้บริโภคลดลงด้วย อีกทั้งการคุ้มครองคุณค่าของแบรนด์ผ่านกฏหมาย กับกรมทรัพย์สินทางปัญญานั้นยังเป็นการเพิ่มมูลค่าทางการเงินให้กับองค์กรในระยะยาวด้วย

อะไรคือแรงผลักดันความสำเร็จในการสร้างคุณค่าของแบรนด์ไทย
แรงผลักดันนั้นต้องเกิดจากการที่ผู้บริหารเห็นความสำคัญในการสร้างแบรนด์ให้กับองค์กรหรือสินค้าของตนเอง เกิดเป็นการจัการแบรนด์ที่ดีแช่น การสร้างโลโก้ที่เป็นเอกลักษณ์ ทำให้กลุ่มเป้าหมายสามารถจดจำและนึกถึงแบรนด์ได้ดี การสอดแทรกสีประจำแบรนด์ หรือองค์ประกอบต่างๆของแบรนด์เข้าไปยังจุดสัมผัสแบรนด์ไม่ว่าจะเป็นชุดแต่งกายของพนักงาน การตกแต่งร้าน วิธีการจำหน่ายสินค้าที่แตกต่างแล้วสื่อสารไปยังผู้บริโภคอย่างสม่ำเสมอให้คงความหมายเดิมไว้ รวมไปถึงการที่แบรนด์สามารถตอบสนองความต้องการได้และรักษษสัญญาที่ให้ไว้แก้ลูกค้าได้อย่างสม่ำเสมอคุณค่าของแบรนด์ก็จะเกิดขึ้นในใจของลูกค้าซึ่งการสร้างคุณค่าของแบรนด์ไทยนั้นผู้บริหารจะต้อง
คำนึงถึง 5 จุด คือ
1. Brand Awareness ผู้บริหารควรจัดการแบรนด์ให้ลูกค้าสามารถจดจำตราสินค้าของเราได้ ที่สร้างจากความแตกต่างและเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งสื่อสารผ่านสิ่งเชื่อมโยงที่เกี่ยวกับตัวแบรนด์ เกิดเป็ฯคุณค่าต่อแบรนด์
2. Brand Loyalty ผลักดันให้เปลี่ยนจากกลุ่มเป้าหมายกลายเป็นลูกค้าที่อยู่ในขั้น Cmmitted Buyer ที่เขาเห็นว่าเราคือส่วนหนึ่งในชีวิตของเขา แบรนด์เราเท่านั้นที่เขาจะเลือก เพราะ แบรนด์ใดที่มีคุณค่าสูงต่างก็เกิดจากการที่มีฐานลูกค้าLoyalty สูงเช่นกัน เกิดเป็นแบรนด์ที่แข็งแรง ก่อให้เกิดคุณค่าไม่ว่าจะเป็นสิ่งจับต้องได้หรือไม่ได้ในระยะยาว
3. Persived Quality การที่จะสร้างแบรนด์ให้มีคุณค่านั้นผู้บริโภคจะต้องรับรู้ถึงคุณภาพของสินค้าและบริการที่สามารถตอบสนองแก่ลูกค้าได้จริง เกิดเป็นความน่าเชื่อถือ ไว้วางใจที่ผู้บริโภคมีให้แก่แบรนด์เรา
4. Brand Associations เป็นการจัดการคุณค่าของแบรนด์ผ่านสิ่งเชื่อมโยงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นราคา ลักษณะของสินค้า วิธีการจัดจำหน่ายที่มีการสอดแทรกเนื้อหาของแบรนด์และสื่อสารอย่างคงเส้นคงวา ทำให้ลูกค้าเกิดการเชื่อมโยง จดจำได้ ช่วยสร้างทัศนคติที่ดี
5. การคุ้มครองคุณค่าของแบรนด์ผ่านกฏหมาย เป็ฯสิ่งที่นักสร้างแบรนด์ควรให้ความสำคัญ เพราะจะช่วยรักษาคุณค่าของแบรนด์ คงเอกลักษณ์ ความแตกต่างไว้ ป้องกันคูรค่าของแบรนด์ถูกลดลงด้วยผ็ค้ารายอื่นๆที่ลอกเลียนแบบ เพิ่มคุณค่าความเป็น Origin และสร้างมูลค่าทางการเงินในระยะยาว
สิ่งเหล่านี้จะก่อให้เกิดคุณค่าในตัวแบรนด์ ซึ่งจะจัดการได้ดีและสมดุลก็ต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์ของนักสร้างแบรนด์ไทยเป็นพื้นฐาน

รายชื่อ
กลุ่มหม่อง ทองดี
Section 3392

1. นายธนวัฒน์ อ่วมอั๋น No.27
2. นายวิทวัส อริยะสุนทร No.36
3. นายฉัตรดนัย อุดมพานิช No.37
4. น.ส.พัทธ์พาณี โสธนะเสถียร No.47
5. น.ส.อัฉรา ทองแผ่น No.48